...
...
...
...
...
...

ข้อมูลอื่นๆ

ข้อมูลอื่นๆ (ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่)

(1) แหล่งน้ำธรรมชาติ

          - ลำน้ำแจ่ม ไหลมาจากอำเภอแม่แจ่ม  ผ่านทางทิศใต้ของตำบล  หมู่บ้านที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 7, 8, 9, 16  โดยใช้ระบบเหมืองฝายในการน้ำน้ำแจ่มมาใช้ประโยชน์และมีฝายน้ำล้น อยู่หมู่ที่ 9 บ้านวังตวง  ซึ่งน้ำแจ่มนี้มีเพียงพอต่อการทำการเกษตรตลอดปี แต่บางปีก็ได้เกิดปัญหาน้ำท่วม ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย

          - ลำน้ำปิง ไหลผ่านตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันออกของตำบล  หมู่บ้านที่ได้รับประโยชน์จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 , 5 , 6 , 8 , 10 , 11 , 15, 18 โดยมีการนำน้ำปิงมาใช้ประโยชน์ทางเกษตรด้วยวิธีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้า  ซึ่งในปัจจุบันประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และน้ำท่วมรุนแรง

          - ลำน้ำแปะ เกิดจากขุนแปะบนดอยอินทนนท์ ไหลผ่านหมู่บ้านที่ได้รับประโยชน์  จำนวน  8 หมู่บ้าน ได้แก่  หมู่ที่  1 , 2 , 3 , 4 ,12 , 13 , 14 , 17เกษตรกรสามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้เฉพาะฤดูฝนเท่านั้น เนื่องจากฤดูแล้งน้ำจะแห้งขอด ทำให้น้ำไม่เพียงพอในการทำการเกษตรได้ตลอดปี

          - ลำน้ำสะลาน หมู่บ้านที่ได้รับประโยชน์  จำนวน 2  หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่  3, 4 

          - ลำห้วยห้วยผีเสื้อ, ห้วยขี้เหล็ก, ห้วยกองหมาย, ห้วยน้ำอุ่น, ห้วยปุ๊, ห้วยทะลก, ห้วยลึก, ห้วยยอน, ห้วยกองแลน, ห้วยรินหลวง, ห้วยแม่แปะ ,ห้วยข้าวปวง , ห้วยผักขวง , ห้วยแสง , ห้วยข้าว , ห้วยกองตอง, ห้วยมะเฝือ 

 

(2) แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น  

          อ่างเก็บน้ำ, เหมือง, ฝาย, โครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า  ซึ่งเดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน, กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน  แต่ปริมาณน้ำที่ได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ดังนี้

          - อ่างน้ำตามโครงการถ่ายโอน  จำนวน 2  แห่ง  ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบ้านสบแจ่มฝั่งซ้าย หมู่ที่ 11  , และอ่าง  เก็บน้ำบ้านดงเย็น หมู่ที่ 15

          - โครงการสถานีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้า ปัจจุบันมีจำนวน 10 แห่ง รับโอนมาจากกรมชลประทานเมื่อปี พ.ศ. 2546 จำนวน 7  แห่ง ได้แก่ สถานีสูบน้ำบ้านสบแปะ, สถานีสูบน้ำบ้านสบแปะ1, สถานีสูบน้ำบ้านสบแปะ(ฝั่งซ้าย) , สถานีสูบน้ำบ้านห้วยทราย,  สถานีสูบน้ำบ้านวังตวง, สถานีสูบน้ำบ้านท่ากอม่วง และบ้านสบแจ่มฝั่งซ้าย  ต่อมาได้รับโอนเพิ่มในปี พ.ศ. 2553 จำนวน 3  แห่ง ได้แก่ สถานีสูบน้ำบ้านดงเย็น , สถานีสูบน้ำบ้านม่อนหิน และสถานีสูบน้ำ บ้านนากบ  และยังมีอีกหลายหมู่บ้านที่มีความต้องการก่อสร้างเพิ่มเติมได้แก่ บ้านข่วงเปาใต้, บ้านห้วยทราย(สถานที่ 2)  บ้านบวกห้า, บ้านนากบ(สถานีที่ 2) และบ้านดงเย็น(สถานีที่ 2) เป็นต้น

 

(3) แร่ธาตุที่พบในอุทยานแห่งชาติออบหลวง

          - แร่เฟลด์สปาร์            พบบริเวณทิศตะวันตกของอำเภอจอมทอง

          - แร่ดีบุกทังสเตน         พบทางทิศใต้ของอำเภอแม่แจ่ม ทิศตะวันตกของอำเภอฮอด

          - แร่ตะกั่ว สังกะสี         พบทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอจอมทอง

          - แร่หินคาร์บอเนต        พบในเขตอำเภอจอมทอง

          - ถ่านหินลิกไนต์          พบบริเวณบ้านบ่อหลวง อำเภอฮอด

     แหล่งหินอุตสาหกรรมก่อสร้าง เหมืองแร่ฟลูออไรท์  เป็นแหล่งหินคุณภาพดีของจังหวัดเชียงใหม่

 

(4) ทรัพยากรสัตว์

สัตว์ที่พบเห็นในพื้นที่อุทยานออบหลวง คือ เก้ง กวาง หมูป่า กระต่าย ลิง นกชนิดต่างๆกระจ้อน กระเลน สัตว์เลื้อยคลาน เช่น กิ้งก่าหัวแดง งูต่างๆ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบหนอง  เขียดตะปาด อึ่งอ่างบ้าน แมลงต่างๆ  ซึ่งมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตตำบลบ้านแปะ  และอีกา บริเวณริมน้ำปิง หมู่ 8

 

(5) จุดท่องเที่ยวธรรมชาติ ในเขตตำบลบ้านแปะ

          น้ำตกแม่จร   เป็นน้ำตกสูงใหญ่ มีลักษณะเด่น เป็นน้ำตกที่ตกลงมาเหมือนใยแก้วอยู่ในเขตหมู่8 บ้านวังตวง การคมนาคมไม่สะดวกเป็นถนนลูกรัง มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอแม่แจ่ม  

          เวียงหิน       เวียงหินเป็นที่ประทับของพระนางวิสุทธิเทวี พระธาตุและวัดบ้านแปะ  พระนางทรงสร้างเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2110 ปัจจุบันได้มีผู้สนใจมาติดต่อสอบถามเกี่ยวกับประวัติของเวียงหินเพิ่มขึ้น หากมีการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์จะเป็นทำให้เวียงหินเป็นที่รู้จักมากขึ้น

          ดอยผาช้าง   เป็นภูเขาก้อนหินสี น้ำตาล-ดำ  มีลักษณะเหมือนช้างนอนหมอบอยู่ มีจุดชมวิวที่สวยงามมาก  อยู่ในเขตหมู่ที่  12 บ้านขุนแปะ  การคมนาคมไม่สะดวก ถนนเป็นถนนลูกรัง  มีภาพเขียนสีมนุษย์โบราณ

          ถ้ำตอง        เป็นภูเขาหินแกรนิตและหินปูน  มีรูปร่างเหมือนกระดูกผ่าครึ่ง มีอุโมงค์หินที่มีความยาวมาก  ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่  4  บ้านแปะ  การคมนาคมสะดวก เป็นถนนลาดยาง สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวหรือพักผ่อนหย่อนใจได้

          น้ำตกตาดโจ้ตาดเหมย เป็นสถานที่ที่น่าท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 4 , 13 การคมนาคมไม่สะดวก  เป็นถนนลูกรัง

          หลุมฝังศพมนุษย์โบราณหมายเลข1  มีภาชนะเครื่องมือเครื่องประดับและกระดูกมนุษย์โบราณในสมัยสังคมเกษตร(Agricultural Groups)และสมัยสำริด(Bronze Age) อยู่เขตหมู่ที่ 9


(6) ประวัติศาสตร์โบราณสถาน โบราณวัตถุ

อุทยานแห่งชาติออบหลวง ถือว่ามีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์โบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นอย่างยิ่ง มีการค้นพบหลุมฝังศพมนุษย์โบราณ และโครงกระดูกของมนุษย์ในสังคมเกษตร(agricultural groups)  สมัยสำริด(bronze  age) 

          บริเวณผาช้าง (rock shelter of phachang) อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านแปะ บริเวณผาช้างพบสะเก็ดหินเครื่องมือกะเทาะ ทำจากกรวดท้องน้ำ พ.ศ.๒๕๒๗ พบชิ้นกระดูกมนุษย์  และภาชนะผิวขัดมันสีน้ำตาลเข้ม

          ภาพเขียน  สีแดงอมดำเข้มและสีขาว เป็นรูปสัตว์และคนอยู่หลายภาพ รูปแบบภาพเขียนเป็นลักษณะภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ห่างจากผาช้างไปทางทิศตะวันออกเฉียงไต้ประมาณ 150  เมตร

          หลุมฝังศพมนุษย์โบราณหมายเลข1  บนลานตะพักสูงเหนือออบหลวง  ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านแปะ บริเวณนี้พบเศษภาชนะดินเผาจำนวนมากกระจัดกระจาย   ผิวดินภาชนะดินเผาที่พบมีลายเชือกทาบและลายขีด(Corded mark and incised potsherds)  และภาชนะดินเผารูปทรงคล้ายพาน(pedestaled bowls) และพบเครื่องมือหินขัดทั้งที่สมบูรณ์และแตกหัก   ห่างจากบริเวณนี้ออกไปเล็กน้อยพบสะเก็ดหินที่เกิดจาการกะเทาะเครื่องมือหิน

          เวียงหินที่ประทับและวัดราชวิสุทธิวราราม (วัดบ้านแปะ)พระธาตุบ้านแปะ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านแปะ  อายุราว 437 ปี  สร้างโดยขัติยกษัตริย์สตรีศรีล้านนา   พระนางวิสุทธิเทวี (พ.ศ. 2110)   พระนางทรงสร้างวัดบ้านแปะและสร้างเวียงหินที่ประทับ  ดังปรากฏซากเวียงหินปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณสวนลำไยในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านแปะ


2.2  ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของเทศบาลตำบลบ้านแปะ

          โครงสร้างการบริหารงานของเทศบาลตำบลบ้านแปะ  ประกอบด้วย 

          สภาเทศบาลตำบลบ้านแปะ ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีรายชื่อดังต่อไปนี้

                 เขต 1    1. นายอุ่นเรือน    กิติ                      เขต 2    1. นายอนุวัชร์พงศ์  ใจชมชื่น

                              2. นายชัยพร       ตากลม                             2. นายจินดา          พงษ์วารินทร์

                              3. นายวุฒิกร      สถิตวนา                            3. นายนิคม           อุ่นใจละ

                              4. นายหมอกวา  ปอโชโร                             4. นายไชยพร   สมปอน

                              5. นายสมเพชร   ตะบิ                                 5. นายวิเชียร   จันตาบุญ

                              6. นายอภิชาต    วรรณการ                           6. นางรัตนา   กันทายวง


          คณะผู้บริหาร ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรีที่นายกฯ แต่ตั้ง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

          1. นายพันธ์ศักดิ์  แก้วสุดใจ         นายกเทศมนตรี  

          2. นายประวิช  คมขำ                  รองนายกเทศมนตรี

          3. นายจตุรพร ปินตาอินทร์         รองนายกเทศมนตรี

          4. นายอรรถพล   กันทาคำ          เลขานุการนายกเทศมนตรี

          5. นายทอน  แสนสิงห์               ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี