หัวข้อ
(1)ประวัติตำบลบ้านแปะ ตำบลบ้านแปะ เดิมมีราษฎรอาศัยอยู่ติดกับลำห้วยและเชิงเขาใกล้กับถ้ำแห่งหนึ่ง คือลำห้วยแม่แปะ ชื่อลำห้วยตามภาษาถิ่นเหนือนั้นมีความหมายว่า “แป๊” หมายถึง “ชนะ” โดยมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่าลำน้ำแห่งนี้มีอาถรรพ์ หากข้ามลำห้วยนี้แล้วไม่ว่าจะมีคาถาอาคมกล้าแกร่งมากแค่ไหน คาถาอาคม เหล่านั้นก็จะเสื่อมไป และมีน้ำไหลมาจากภูเขาที่ชื่อว่า “ดอยขุนแปะ” และถ้ำแห่งนี้เรียกว่า “ถ้ำตอง” โดยชาติพันธุ์ดั้งเดิมเป็นชนเผ่าลั๊วะ ราษฎรเลี้ยงชีพด้วยการทำกสิกรรมและหาของป่า ตามประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ พ.ศ.2110 พระนาง วิสุทธิเทวี ขัติยสตรีแห่งล้านนา ได้เสด็จมาทรงบูรณะวัดบ้านแปะ (ตรงกับสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ/ราชวงค์พระร่วง/สมัยกรุงศรีอยุธยา) พระธาตุบ้านแปะและทรงประทับ ณ พลับพลาชั่วคราวก่อสร้างด้วยกำแพงหินล้อมรอบ ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นี้ว่า “เวียงหิน” พร้อมกัลปนาที่ดินและข้าวัดด้วยหลาบเงิน (จารึกที่เขียนลงบนแผ่นเงินหรือหิรัญบัตร) หมายถึงมอบถวายที่ดินและผู้คนไว้บำรุงรักษาของวัด บ้านแปะ ห้ามไม่ให้อพยพโยกย้ายโดยวิธีการใดๆ ก็ตาม ปรากฏเป็นหลักฐานสืบทอดมาถึงปัจจุบัน เมื่อประชากรเริ่มมีความหนาแน่นจึงขยายออกไปตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ที่แห่งใหม่โดยรอบวัดบ้านแปะเดิม ตามริมฝั่งแม่น้ำปิงและที่ราบระหว่างลำน้ำปิงและ ลำน้ำแจ่ม ซึ่งเหมาะสมยิ่งสำหรับการทำเกษตรกรรม ต่อมาได้ขยายชุมชนใหญ่ขึ้น ทางราชการได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านและตำบล โดยเรียกตามชื่อเดิมของหมู่บ้านว่า “ตำบลบ้านแปะ” มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ประวัติศาสตร์ วัดบ้านแปะ พระธาตุบ้านแปะ และที่ประทับเวียงหิน ณ หมู่ 4 บ้านแปะนั้น เทศบาลตำบลบ้านแปะจะได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าประวัติเพิ่มเติม เพื่อเป็นการแสดงถึงภูมิหลังอันมีเกียรติของคนในตำบลบ้านแปะ และจะผลักดันให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และเป็นข้อมูลให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป (2) ความเป็นมาของเทศบาลตำบลบ้านแปะ ตำบลบ้านแปะ เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลบ้านแปะ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 มีหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 12 หมู่บ้าน ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะสภาตำบลบ้านแปะ ขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแปะ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนพิเศษ 53 ง เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2539 ซึ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก มีหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 16 หมู่บ้าน ต่อมาได้ปรับขนาดองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก ขึ้นเป็นขนาดกลาง เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2550 และได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลบ้านแปะ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2552 เป็นต้นมา มีหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 20 หมู่บ้าน (3) ตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาล ตราประจำเทศบาลตำบลบ้านแปะ มีลักษณะเป็นรูปพระธาตุเจดีย์วัดบ้านแปะ มีรัศมีโดยรอบ และรูปรวงข้าว ซึ่งมีความหมายดังนี้ 1. พระธาตุเจดีย์วัดบ้านแปะ หมายถึง ศาสนสถานสำคัญที่ตั้งอยู่ ณ หมู่ 4 บ้านแปะ ก่อสร้างในสมัยพระนางวิสุทธิเทวี ผู้ครองล้านนา ในคราวสมัยพระนางฯ เสด็จมาประทับ ณ เวียงหินบ้านแปะ ประมาณ พ.ศ. 2110 ถือเป็นพระธาตุเก่าแก่ของตำบล 2. รัศมีโดยรอบองค์พระธาตุ หมายถึง ความเจริญ ความรุ่งเรืองของตำบลบ้านแปะ ตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านศาสนา จารีต ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม 3. รูปรวงข้าวโดยรอบ หมายถึง พื้นที่ของตำบลบ้านแปะ ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว ลำไย ตลอดถึงพืชไร่ พืชสวนต่าง ๆ เทศบาลตำบลบ้านแปะ ในฐานะราชการบริหารส่วนท้องถิ่น จึงได้นำสัญลักษณ์เหล่านี้มาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำหน่วยงานอันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง ความอุดมสมบูรณ์ มุ่งพัฒนาตำบลทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้วัฒนารุ่งเรืองถาวรสืบไป คำขวัญ ดินแดนมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ธรรมชาติแห่งหินเก่า เล่าขานตำนานพระธาตุ รสชาติหวานลำไยพันธุ์ดี วิสัยทัศน์ “มีศักยภาพด้านการบริหาร เน้นบริการสาธารณะ ประชาชนอยู่ดี กินดี”
(1)ประวัติตำบลบ้านแปะ
ตำบลบ้านแปะ เดิมมีราษฎรอาศัยอยู่ติดกับลำห้วยและเชิงเขาใกล้กับถ้ำแห่งหนึ่ง คือลำห้วยแม่แปะ ชื่อลำห้วยตามภาษาถิ่นเหนือนั้นมีความหมายว่า “แป๊” หมายถึง “ชนะ” โดยมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่าลำน้ำแห่งนี้มีอาถรรพ์ หากข้ามลำห้วยนี้แล้วไม่ว่าจะมีคาถาอาคมกล้าแกร่งมากแค่ไหน คาถาอาคม เหล่านั้นก็จะเสื่อมไป และมีน้ำไหลมาจากภูเขาที่ชื่อว่า “ดอยขุนแปะ” และถ้ำแห่งนี้เรียกว่า “ถ้ำตอง” โดยชาติพันธุ์ดั้งเดิมเป็นชนเผ่าลั๊วะ ราษฎรเลี้ยงชีพด้วยการทำกสิกรรมและหาของป่า ตามประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ พ.ศ.2110 พระนาง วิสุทธิเทวี ขัติยสตรีแห่งล้านนา ได้เสด็จมาทรงบูรณะวัดบ้านแปะ (ตรงกับสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ/ราชวงค์พระร่วง/สมัยกรุงศรีอยุธยา) พระธาตุบ้านแปะและทรงประทับ ณ พลับพลาชั่วคราวก่อสร้างด้วยกำแพงหินล้อมรอบ ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นี้ว่า “เวียงหิน” พร้อมกัลปนาที่ดินและข้าวัดด้วยหลาบเงิน (จารึกที่เขียนลงบนแผ่นเงินหรือหิรัญบัตร) หมายถึงมอบถวายที่ดินและผู้คนไว้บำรุงรักษาของวัด บ้านแปะ ห้ามไม่ให้อพยพโยกย้ายโดยวิธีการใดๆ ก็ตาม ปรากฏเป็นหลักฐานสืบทอดมาถึงปัจจุบัน เมื่อประชากรเริ่มมีความหนาแน่นจึงขยายออกไปตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ที่แห่งใหม่โดยรอบวัดบ้านแปะเดิม ตามริมฝั่งแม่น้ำปิงและที่ราบระหว่างลำน้ำปิงและ ลำน้ำแจ่ม ซึ่งเหมาะสมยิ่งสำหรับการทำเกษตรกรรม ต่อมาได้ขยายชุมชนใหญ่ขึ้น ทางราชการได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านและตำบล โดยเรียกตามชื่อเดิมของหมู่บ้านว่า “ตำบลบ้านแปะ” มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ประวัติศาสตร์ วัดบ้านแปะ พระธาตุบ้านแปะ และที่ประทับเวียงหิน ณ หมู่ 4 บ้านแปะนั้น เทศบาลตำบลบ้านแปะจะได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าประวัติเพิ่มเติม เพื่อเป็นการแสดงถึงภูมิหลังอันมีเกียรติของคนในตำบลบ้านแปะ และจะผลักดันให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และเป็นข้อมูลให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
(2) ความเป็นมาของเทศบาลตำบลบ้านแปะ
ตำบลบ้านแปะ เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลบ้านแปะ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 มีหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 12 หมู่บ้าน ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะสภาตำบลบ้านแปะ ขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแปะ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนพิเศษ 53 ง เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2539 ซึ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก มีหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 16 หมู่บ้าน ต่อมาได้ปรับขนาดองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก ขึ้นเป็นขนาดกลาง เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2550 และได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลบ้านแปะ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2552 เป็นต้นมา มีหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 20 หมู่บ้าน
(3) ตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาล
ตราประจำเทศบาลตำบลบ้านแปะ
มีลักษณะเป็นรูปพระธาตุเจดีย์วัดบ้านแปะ มีรัศมีโดยรอบ และรูปรวงข้าว
ซึ่งมีความหมายดังนี้
1. พระธาตุเจดีย์วัดบ้านแปะ หมายถึง ศาสนสถานสำคัญที่ตั้งอยู่ ณ หมู่ 4 บ้านแปะ ก่อสร้างในสมัยพระนางวิสุทธิเทวี ผู้ครองล้านนา ในคราวสมัยพระนางฯ เสด็จมาประทับ ณ เวียงหินบ้านแปะ ประมาณ พ.ศ. 2110 ถือเป็นพระธาตุเก่าแก่ของตำบล
2. รัศมีโดยรอบองค์พระธาตุ หมายถึง ความเจริญ ความรุ่งเรืองของตำบลบ้านแปะ ตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านศาสนา จารีต ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม
3. รูปรวงข้าวโดยรอบ หมายถึง พื้นที่ของตำบลบ้านแปะ ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว ลำไย ตลอดถึงพืชไร่ พืชสวนต่าง ๆ
เทศบาลตำบลบ้านแปะ ในฐานะราชการบริหารส่วนท้องถิ่น จึงได้นำสัญลักษณ์เหล่านี้มาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำหน่วยงานอันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง ความอุดมสมบูรณ์ มุ่งพัฒนาตำบลทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้วัฒนารุ่งเรืองถาวรสืบไป
คำขวัญ
ดินแดนมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ธรรมชาติแห่งหินเก่า
เล่าขานตำนานพระธาตุ รสชาติหวานลำไยพันธุ์ดี
วิสัยทัศน์
“มีศักยภาพด้านการบริหาร เน้นบริการสาธารณะ ประชาชนอยู่ดี กินดี”
หรือ ให้เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าหากใช้ทั้ง 2 ส่วนระบบจะเอาข้อมูลไฟล์ลิงค์เป็นตัวนำเสนอ
ลิงค์ ^ ตัวอย่างลิงค์ เช่น http://www.banpaecity.go.th
รูปภาพประกอบ
ลำดับ * ใส่ตัวเลขที่ต้องการลงไป
แสดงข้อมูล แสดงข้อมูล ไม่แสดงข้อมูล